การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)..........................................................................
รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) หรือการสำรวจระยะไกล
เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่ใช้ในการบันทึก
คุณลักษณะของวัตถุต่างๆในการสะท้อน และ/หรือการแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
โดยปราศจากการสัมผัสโดยตรง
เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้นๆ
นั่นคือ “วัตถุแต่ละชนิดจะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป
ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกัน”
รีโมตเซนซิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนกและเข้าใจวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่างๆจากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสงหรือแผ่รังสี
หลักการทำงานของ Remote Sensing
มีหลักการทำงานคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิด ซึ่งก็คือ ดวงอาทิตย์ แสงจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศเกิดปฎิสัมพันธ์ของพลังงานรูปลักษณ์บนผิวโลก และเดินทางเข้าสู่อุปกรณ์บันทึกข้อมูล(Sensor) ที่ติดตั้งบนดาวเทียม และถูกบันทึก หลังจากนั้นจึงผลิตข้อมูลออกมาในรูปแบบภาพหรือรูปแบบเชิงตัวเลข
ภาพที่ 1 หลักการทำงานของ Remote
Sensing
กลไกการสะท้อนแสงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการปล่อยคลื่นอินฟราเรดของโลก
ภาพที่ 2 การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และโลก
ภาพที่ 3 ความยาวช่วงคลื่นและความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของดวงอาทิตย์และโลก
กลไกการสะท้อนแสงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการปล่อยคลื่นอินฟราเรดของโลก
เมื่อพลังงานจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุผ่านชั้นบรรยากาศ
มาตกกระทบพื้นผิวโลกจะเกิดปฏิกิริยาหลักขึ้น 3 อย่างคือ
• การสะท้อนพลังงาน (Reflection)
• การดูดกลืนพลังงาน (Absorption)
• การส่งผ่านพลังงาน (Transmission)
ภาพที่ 4 ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวโลก
การสะท้อนพลังงาน (Reflection)
เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุด เพราะ Remote Sensing ส่วนมากจะบันทึกพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุ
เป็นปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุด เพราะ Remote Sensing ส่วนมากจะบันทึกพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุ
•
ช่วงที่ตามองเห็น 0.4-0.7
micron
•
ช่วงอินฟราเรด 0.7-3.0 micron ซึ่งจะแปรผันตามองค์ประกอบดังนี้
- ลักษณะพื้นผิววัตถุ
- สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง
(สภาพอากาศ, ภูมิประเทศ, อุณหภูมิ)
- มุมตกกระทบของแสง
- ความสามารถและอัตราการสะท้อนแสงของพื้นผิวผิววัตถุ
พลังงานที่ตกกระทบและสะท้อนกลับเกิดขึ้นได้
3 แบบ
1. การสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้าม
(Specular reflector)
•
พื้นผิววัตถุมีลักษณะราบเรียบ
•
พลังงานที่ตกกระทบมีช่วงคลื่นยาว
ทำให้ภาพที่ปรากฏมีลักษณะค่อนข้างเรียบ
•
มุมที่พลังงานสะท้อนกลับจะเท่ากับมุมที่ตกกระทบวัตถุโดยเทียบกับแกนตั้งฉากบนระนาบเดียวกัน
ภาพที่ 5 การสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้าม
2. การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse or Lambertain
reflector)
•
พื้นผิววัตถุมีลักษณะขรุขระ
•
พลังงานที่ตกกระทบกับวัตถุจะมีช่วงคลื่นสั้นกว่าความสูงของพื้นผิววัตถุ
หรือความขรุขระของวัตถุ
มีการสะท้อนพลังงานหลายทิศทาง ที่มีการกระจายแบบสม่ำเสมอ
ภาพที่ 6 การสะท้อนแบบกระจาย
3. การสะท้อนพลังงานแบบผสม (Scattering)
•
เกิดกับวัตถุตามธรรมชาติ เช่น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระทบกับอนุภาคที่อยู่ในอากาศ (ก๊าซ, ไอน้ำ)
•
มีลักษณะการสะท้อนแบบสะท้อนกลับหมดในทิศทางตรงกันข้ามและการสะท้อนแบบกระจายผสมอยู่ซึ่งการสะท้อนพลังงานในลักษณะนี้
จะมีทิศทางไม่แน่นอน
ภาพที่ 7 การสะท้อนพลังงานแบบผสม
การสำรวจระยะไกลย่านแสงที่ตามองเห็นและอินฟราเรดสะท้อน
รีโมตเซนซิงช่วงคลื่นแสง (Optical
remote sensing) เป็นการบันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นแสง ได้แก่
ช่วงคลื่นแสงตามองเห็น (visible), อินฟราเรดใกล้ (near
infrared) และอินฟราเรดคลื่นสั้น (shortwave infrared) จากการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบวัตถุบนพื้นผิวโลก
วัตถุแต่ละชนิดมีการสะท้อนและดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงคลื่นแตกต่างกัน
ค่าการสะท้อนเชิงคลื่นของแต่ละวัตถุนี้เรียกว่า "ลายเซ็นการสะท้อนเชิงคลื่น (spectral reflectance signature)" ซึ่งเป็นลักษณะที่ใช้แยกความแตกต่างของวัตถุแต่ละชนิด เช่น
ค่าการสะท้อนแสงของน้ำโดยทั่วไปจะต่ำ
แต่จะมีการสะท้อนสูงที่ปลายคลื่นน้ำเงิน ซึ่งทำให้น้ำใสจะปรากฏเป็นสีน้ำเงินเข้ม ดินจะมีค่าการสะท้อนสูงกว่าพืชไปจนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรด
ค่าการสะท้อนของดินขึ้นอยู่กับส่วนผสมของดิน ตัวอย่างดินที่แสดงในภาพจะปรากฏเป็นสีน้ำตาล ส่วนพืชจะมีค่าการสะท้อนแสงที่แตกต่างดินและน้ำ
คือ ค่าการสะท้อนจะต่ำในช่วงคลื่นน้ำเงินและแดง
ในขณะที่จะมีค่าการสะท้อนสูงที่ช่วงคลื่นเขียวและช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรด
ภาพที่ 8 ระดับการสะท้อนการแผ่รังสีและความยาวคลื่น
ภาพถ่ายแบบ
visible แสดงให้เห็นถึงปริมาณแสงอาทิตย์ที่สะท้อนกลับไปยังอวกาศโดยเมฆ
ละอองของเหลว กาส และพื้นผิวโลก เมฆที่หนากว่ามีค่าการสะท้อนสูงกว่า (ค่า albedo)
และจะสว่างกว่าเมฆที่บางกว่า อย่างไรก็ตามมันก็ยากที่จะแยกว่าเป็นเมฆระดับต่ำ
กลาง หรือสูงในภาพถ่ายแบบ visible นี้ถ้ามันมีค่า albedo
เดียวกัน
และสำหรับความแตกต่างนี้ภาพถ่ายดาวเทียมแบบอินฟราเรดจะมีประโยชน์
ภาพที่ 9 ภาพถ่ายแบบคลื่นแสงที่ตามองเห็น(Visible)
ภาพที่ 10 ภาพถ่ายแบบคลื่นอินฟราเรด(Infrared)
การประยุกต์การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) ที่สำคัญของประเทศไทย
ด้านการเกษตร
· ภาพถ่ายจากดาวเทียมใช้สำรวจบริเวณพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สัปปะรด อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
· ผลลัพธ์จากการแปลภาพใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแง่ปริมาณ
ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ
· ติดตามขอบเขตและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้
· ประเมินบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม
(มีศักยภาพ) ในการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
ภาพที่ 11 การประยุกต์ใช้ทางการเกษตร
ด้านป่าไม้
· ติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม
เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน เป็นต้น
· ผลลัพธ์จากการแปลสภาพพื้นที่ป่า
เพื่อสำรวจพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรม
· ติดตามพื้นที่ไฟป่าและความเสียหายจากไฟป่า
· ประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกป่าทดแทนบริเวณที่ถูกบุกรุก
หรือโดนไฟป่า
ภาพที่ 12 การประยุกต์ใช้ทางป่าไม้
ด้านธรณีวิทยา
·
การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแปลสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและโครงสร้างทางธรณี
ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่
แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่
แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
·
การใช้รีโมทเซนซิง
มาสนับสนุนการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ
ภาพที่ 13 การประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยา
ด้านการวางผังเมือง
·
ใช้รีโมทเซนซิง
ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง เพื่อใช้ติดตามการขยายตัวของเมือง
·
ใช้ภาพถ่ายรายละเอียดสูง
ติดตามระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ BTS ไฟฟ้า เป็นต้น
·
ผลลัพธ์จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์การพัฒนาสาธารณูปการ
เช่น การจัดสร้าง/ปรับปรุง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ดับเพลิง ไปรษณีย์
ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ เป็นต้น
ภาพที่ 14 การประยุกต์ใช้ด้านการวางผังเมือง
ด้านสิ่งแวดล้อม
·
รีโมทเซนซิง
ได้ใช้แปลสภาพทรัพยากรชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลง
เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เช่น
การพังทลายของดินชายฝั่ง การทำลายป่าชายเลน การทำนากุ้ง การอนุรักษ์ปะการัง
เป็นต้น
เป็นต้น
·
ภาพถ่ายจากดาวเทียมในช่วงคลื่น Visible ช่วยในการ ศึกษา/ติดตาม/ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ
·
ผลลัพธ์จากการแปลภาพนำมาประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ในการวิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านน้ำ อากาศ เสียง ขยะ
และสารพิษ· รีโมทเซนซิง
จึงช่วยสนับสนุนการวางแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 15 การประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านอุตุนิยมวิทยา/อุบัติภัย
·
ภาพถ่ายจากดาวเทียม
สามารถใช้ถ่ายพื้นที่ที่ได้รับเหตุอุบัติภัย
และกำหนดขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้
ติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้นภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ศึกษาลักษณะการเกิดและประเมินความรุนแรง
·
ผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลพื้นที่ได้รับผลกระทบ
เพื่อการวางแผนช่วยเหลือและฟื้นฟู
ภาพที่ 16 การประยุกต์ใช้ด้านอุตุนิยมวิทยา/อุบัติภัย
พัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร.....................................................................
การสำรวจทรัพยากรโลกด้วยดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
ได้วิวัฒนาการจากการได้รับภาพถ่ายโลก ภาพแรกจากการส่งสัญญาณภาพของดาวเทียม Explorer
VI ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 ตั้งแต่นั้นมา
การสำรวจโลกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ได้มีการพัฒนาเป็นลำดับทั้งระบบบันทึกข้อมูล
และอุปการณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างมากมาย วิวัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
LANDSAT เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรก
ที่ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อ พ.ศ. 2515
ประโยชน์ที่ได้รับ (ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ)
- ด้านการสำรวจพื้นที่ป่าไม้
- ด้านการเกษตร
- ด้านการใช้ที่ดิน
- ด้านธรณีวิทยา เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ หาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในดิน
- ด้านอุทกวิทยา เพื่อศึกษาสภาพและแหล่งน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน ฯลฯ
- ด้านการสำรวจพื้นที่ป่าไม้
- ด้านการเกษตร
- ด้านการใช้ที่ดิน
- ด้านธรณีวิทยา เพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ หาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในดิน
- ด้านอุทกวิทยา เพื่อศึกษาสภาพและแหล่งน้ำ ทั้งบนดินและใต้ดิน ฯลฯ
ภาพที่ 17 ดาวเทียม LANDSAT และภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT
พัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทย
-
ปี 1981 การติดตั้งสถานีภาคพื้นดินรับสัญญาณจากดาวเทียม Landsat ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
เป็นสถานีภาคพื้นดินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-
ปี 1997 ดาวเทียมไทพัฒ ดาวเทียมสัญชาติไทย ดวงแรก
เพื่อการศึกษาด้านการสำรวจทรัพยากร เข้าสู่วงโคจร
-
ปี 2004 โครงการสำรวจทรัพยากรของไทย THEOS โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและฝรั่งเศส
-
ปี 2008 ส่งดาวเทียม THEOS ขึ้นสู่อวกาศ
"ธีออส" เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หนัก 750
กิโลกรัม โคจรเหนือพื้นผิวโลก 822 กิโลเมตร
ตัวดาวเทียม ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
1. อุปกรณ์ถ่ายภาพ
2.
ส่วนควบคุมสนับสนุนการทำงานของดาวเทียมสามารถบันทึกภาพ ขาว-ดำ รายละเอียดภาพ 2 เมตร บันทึกภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร
หน้าที่หลัก
คือถ่ายภาพสำรวจทรัพยากร
ส่วนการนำมาประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ
เช่น ด้านภัยพิบัติ
ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บันทึกก่อนเหตุการณ์จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันการเกิดภัยพิบัติ
เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เพลิงไหม้ เป็นต้น
ภาพที่ 18 ดาวเทียมธีออส
ตัวอย่างดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของต่างประเทศ
ดาวเทียม
SPOT
ดาวเทียม SPOT อยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส ร่วมกับประเทศในกลุ่มยุโรป
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลของดาวเทียม SPOT ประกอบด้วย High Resolution Visible (HRV) จำนวน
2 กล้อง คือระบบหลายช่วงคลื่น (Multispectral Mode) มี 3 ช่วงคลื่น และระบบช่วงคลื่นเดียว
(Panchromatic Mode) สมรรถนะของ HRV ที่สำคัญประการหนึ่งคือสามารถถ่ายภาพแนวเฉียงและนำมาศึกษาในลักษณะ
3 มิติได้ ซึ่งให้รายละเอียดได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลจากดาวเทียม
SPOT สามารถนำไปใช้ศึกษาพื้นที่ป่า การทำแผนที่การใช้ที่ดิน ธรณีวิทยา
อุทกวิทยา แหล่งน้ำ สมุทรศาสตร์ และชายฝั่ง
ภาพที่ 19 ดาวเทียม SPOT
ดาวเทียม ERS
ดาวเทียม
ERS-1 (European Remote Sensing Satellite) พัฒนาโดยองค์การอวกาศแห่งยุโรป (European Space
Agency – ESA) มีคุณสมบัติพิเศษในการบันทึกข้อมูลแบบ active
sensor คือ เรดาร์ สามารถถ่ายภาพทะลุเมฆ และวัตถุ บางชนิดได้ สามารถบันทึกข้อมูลในเวลากลางคืนได้และในทุกสภาพอากาศ บันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นไมโครเวฟ
การสะท้อนช่วงคลื่นของข้อมูลจากดาวเทียม ERS-1 จะขึ้นกับคุณสมบัติความเรียบและความขรุขระของผิวหน้าวัตถุเป็นสำคัญ
ยิ่งเรียบจะให้ค่าการสะท้อนต่ำ ขณะที่ความขรุขระจะให้ค่าสะท้อนสูงขึ้นตามส่วน แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณามุมตกกระทบ
(incident angle) ขณะที่บันทึกข้อมูลด้วย
ปัจจุบันดาวเทียมชุดนี้ปฏิบัติการอยู่ 2 ดวง คือ
ERS-1 และ ERS-2
ภาพที่ 20 ดาวเทียม ERS
ดาวเทียม
JERS-1
องค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น (NASDA) ได้พัฒนาโครงการระบบดาวเทียมที่ ถ่ายภาพทะลุเมฆได้โดยใช้เรดาร์
ชื่อว่าดาวเทียม JERS-1 (Japanese Earth Resources Satellite) นับเป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูง
โดยมีอุปกรณ์ถ่ายภาพทะลุเมฆที่เรียกว่า Synthetic Aperture Radar (SAR) แล้วยังมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Optical Sensors (OPS) ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ใช้
CCD ในการรับแสงสะท้อนจากผิวโลก แยกออกเป็น 7 ช่วงคลื่น
ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรด โดยมีรายละเอียดของภาพถึง
18 x 24 เมตร และสามารถถ่ายภาพในระบบสามมิติตามแนวโคจรได้ด้วย
ภาพที่ 21 ดาวเทียม JERS-1
ดาวเทียม
MOS-1
ดาวเทียม MOS-1 (Marine Observation Satellite) อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น
(National Space Development Agency-NASDA) มีอุปกรณ์บันทึกข้อมูล
3 ระบบ คือ
1. Multispectral
Electronic Self Scanning Radiometer (MESSR) มี 4 ช่วงคลื่น ให้รายละเอียด 50 x 50 เมตร ใช้สำรวจทรัพยากรเช่นเดียวกับข้อมูล
MSS ของ ดาวเทียม LANDSAT
2. Visible
and Thermal Infrared Radiometer (VTIR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกับอุณหภูมิต่างๆ
ในทะเลอันเป็นประโยชน์ต่อการประมง และข้อมูลการปกคลุมของเมฆและไอน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ
3. Microwave Scanning Radiometer (MSR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณไอน้ำ ปริมาณน้ำ ลมทะเล การแผ่ปกคลุมของหิมะ และน้ำแข็งในทะเล
ภาพที่ 22 ดาวเทียม MOS-1
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สรุป
จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล
ในด้านต่าง ๆ
พบว่าปัจจุบันประเทศไทยได้นำข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม มาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย
ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศและพัฒนาระบบนี้ให้เหมาะกับประเทศไทยยิ่งขึ้นเพื่อมุ่งไปสู่
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน